ศูนย์สิรินธรเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ปี 2545

 

ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สำนักหอสมุด ได้พัฒนาอรรถาภิธานศัพท์เกษตรไทยในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับแรกของประเทศไทย ถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 ในการเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อใช้เป็นคำศัพท์มาตรฐานในการทำดรรชนีสารสนเทศด้านการเกษตรของไทย  ขยายผลการค้นข้อมูลหลากภาษา และใช้เป็นคลังคำศัพท์เกษตรไทย สำหรับระบบการแปลภาษาอัตโนมัติ

Text Here

 

ปี 2547-2548

 

ศูนย์สนเทศทางการเกษตรแห่งชาติ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันวิจัยกสิกรรมและป่าไม้ สปป.ลาว พัฒนาอรรถาภิธานศัพท์เกษตรลาวโดยการพัฒนาต่อยอดจากอรรถภิธานศัพท์เกษตรไทย เพื่อใช้ในการเชื่อมโยง องค์ความรู้ด้านการเกษตร ไทย-ลาว ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในการพัฒนาการศึกษาและการวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยใน  สปป.ลาว

Text Here

 

ปี 2549

 

สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

สวนพฤกษศาสตร์ รอบอาคารสำนักหอสมุด เป็นโครงการที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สนองพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในการปกปักและอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของประเทศไทย ส่งเสริมการเรียนรู้ การใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมพืชอย่างเหมาะสมและยั่งยืน  ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปให้ตระหนักถึงความสำคัญของพันธุกรรมพืชอันเป็นมรดกทางธรรมชาติของประเทศ  โดยเป็นส่วนหนึ่งของการสนองพระราชดำริใน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี

Text Here

 

ปี 2549

 

ฐานข้อมูลพรรณไม้ สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำขึ้นเพื่อให้บริการความรู้เกี่ยวกับพรรณไม้นานาชนิดที่มีอยู่ในสวนพฤกษศาสตร์ รอบอาคารสำนักหอสมุด  จำนวนกว่า 200 ชนิดในพืช 9 วงศ์ โดยสามารถสืบค้นข้อมูลได้จาก ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อสามัญ และชื่อพ้อง และสามารถแสดงข้อมูลตามแผนผังการจัดสวน ตามชื่อชนิด และชื่อวงศ์ พร้อมให้รายละเอียดเพิ่มเติมโดยลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

Text Here

 

ปี 2553 - 2556

 

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นหน่วยงานแม่ข่ายประสานความร่วมมือ สร้างเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  มีการลงนามความร่วมมือ เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553  และพัฒนาระบบบริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  เปิดระบบให้บริการ ในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ เมื่อวันที่  2 เมษายน 2554

Text Here

 

2553

 

โครงการห้องสมุดชุมชน นนทรีนำความรู้สู่ชุมชน

 

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำกัด จัดกิจกรรมนนทรีนำความรู้สู่ชุมชน เป็นประจำทุกปี ภายใต้โครงการส่งเสริมการอ่าน เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน พัฒนาห้องสมุดให้เป็นพื้นที่เรียนรู้ และจัดทำ Green Corner ไว้ในห้องสมุด เพิ่มพูนความรู้เรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

Text Here

 

ปี 2555-2557

 

หนังสือน่าอ่านสำหรับบัณฑิต

 

โครงการ หนังสือน่าอ่านสำหรับบัณฑิต เป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมการอ่านเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ที่สำนักหอสมุดจัดขึ้น ร่วมกับ หน่วยงานภาคีส่งเสริมการอ่าน โดยจัดกิจกรรมให้ผู้บริหาร อาจารย์ นิสิต และบุคลากร มก. เสนอชื่อหนังสือน่าอ่านสำหรับบัณฑิต จัดแสดงและจำหน่ายหนังสือที่ผ่านการคัดเลือก เป็นของขวัญสำหรับบัณฑิตเกษตร ในช่วงวันรับปริญญา

Text Here

 

ปี 2555-2561

 

หนังสือของขวัญ

 

โครงการ หนังสือของขวัญ เป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมการอ่านเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  ที่ ดร.อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ อดีตผู้อำนวยการสำนักหอสมุดจัดขึ้น เพื่อคัดเลือกและจัดหาหนังสือที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ สอดคล้องกับบริบทของหน่วยงาน มอบให้เป็นของขวัญแห่งปัญญาเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนาของส่วนงานในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประจำทุกปีแทนการมอบดอกไม้

Text Here

 

ปี 2555

 

คลังหนังสือพระราชนิพนธ์ และคลังหนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

สำนักหอสมุด จัดทำคลังหนังสือพระราชนิพนธ์ และคลังหนังสือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ บริเวณชั้น 3 อาคารช่วงเกษตรศิลปการ ประกอบด้วยหนังสือพระราชนิพนธ์ จำนวน 101 ชื่อเรื่อง โดยในจำนวนนี้ มีพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จำนวน 78 ชื่อเรื่อง   ในส่วนของคลังความรู้ มก. ประกอบด้วยหนังสือผลงานของคณาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 8,397 ชื่อเรื่อง

มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 สำหรับคลังหนังสือ โดยมีการนำหนังสือจัดแสดงบนชั้นหมุนเวียนกันไปตลอดทั้งปี

Text Here

 

ปี 2556 - 2561

 

อ่านทุกที่ใน มก. Read@KU

 

ดร. อารีย์ ธัญกิจจานุกิจ อดีตผู้อำนวยการสำนักหอสมุด และคณะทำงานส่งเสริมการอ่าน ได้ริเริ่มโครงการRead@KU โดยจัดทำชั้นหนังสือ upcycling จากวัสดุเหลือใช้ จัดวางหนังสือยังจุดพักรอในมหาวิทยาลัย เช่น ป้ายรอรถ ที่พักรอของคนขับรถ หอพักนิสิต และโรงอาหาร รวม 11 แห่ง เพื่อขยายโอกาสการเข้าถึงหนังสือของนิสิตและบุคลากร  สร้างบรรยากาศรักการอ่านให้เกิดขึ้นในวิทยาเขต และเป็นหนึ่งในโครงการส่งเสริมการอ่าน เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเนื่องในโอกาสที่กรุงเทพมหานคร  ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองหนังสือโลก ในปี 2556

 

โครงการ “อ่านทุกที่ใน มก.: Read@KU” มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีและเป็นวันรักการอ่าน

Text Here

 

ปี 2558

 

มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว

 

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสาตร์ ได้พัฒนาเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว ร่วมกับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ จัดทำมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558 เพื่อเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ เพื่อให้ห้องสมุดในประเทศไทยได้มีมาตรฐานการดำเนินงานเพื่อก้าวสู่การเป็นห้องสมุดสีเขียว

Text Here

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ปี 2531 - 2563

 

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำฐานข้อมูลผลงานวิจัย สวพ. รวมผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 16 เรื่อง

Text Here

คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

2561-2562

 

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร โดย ผศ.ทัศไนย จารุวัฒนพันธ์ ทำการวิจัยเรื่อง ชีววิทยา การออกฤทธิ์ทางชีวภาพและการขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อของพืชสกุล Ceropegia (หญ้าพันเกลียว) ในประเทศไทย เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม และศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพต่อการต้านเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคในมนุษย์ สนองงานโครงการตามพระราชดำริ อพ.สธ.

 

พืชสกุล Ceropegia เป็นพืชที่มีลักษณะดอกโดดเด่นแปลกตา ในต่างประเทศมีการใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร อาหาร ไม้ดอกไม้ประดับ ในประเทศไทยมีรายงานพบพืชสกุลนี้ 20 ชนิด และหลายชนิดเป็นพืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย

Text Here

 

2561-2562

 

ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร โดย ผศ.ทัศไนย จารุวัฒนพันธ์ ทำการวิจัยเรื่อง ชีววิทยา การออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และการขยายพันธุ์กระเทียมน้ำ (Isoetes coromandelinaL.f.) พืชใกล้สูญพันธุ์ในประเทศไทย

พบว่าสารสกัดใบกระเทียมน้ำสามารถยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวกที่นำมาทดสอบได้ทุกชนิด ได้แก่ Staphylococcus aureusSepidermidis และ Bacillus cereus แต่สามารถยับยั้งแบคทีเรียแกรมลบได้เพียงชนิดเดียว คือ Acinetobacter baumannii สารสกัดใบกระเทียมน้ำสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Saureus MRSA ได้ดีที่สุดโดยวัดจากค่าเฉลี่ยขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณที่ยับยั้งเชื้อ

 

กระเทียมน้ำ หรือกระเทียมนา เป็นพืชที่อยู่ในสกุล Isoetes ในประเทศไทยพบกระเทียมน้ำเพียงชนิดเดียว คือ Isoetes coromandelina และจัดเป็นพืชที่อยู่ในเกณฑ์ใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทย มีรายงานว่า สามารถรับประทานส่วนเหนือดินของกระเทียมน้ำได้ โดยรับประทานเป็นผักสด มีรสจืด ใช้เป็นยาสมุนไพรและกระเทียมน้ำบางชนิดสามารถปลูกเป็นพรรณไม้น้ำประดับตู้ปลา

Text Here

 

ปี 2553 – ปัจจุบัน

 

ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช สถานีวิจัยดอยปุย ได้รับต้นม่วงเทพรัตน์ในขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจำนวน 2 ขวด ขวดละ 3 ต้น  และได้ทำการทดลองขยายต้นเพาะเลี้ยงในอาหารสูตรต่าง ๆ จนได้สูตรอาหารที่เหมาะสม สามารถเพาะเลี้ยงต้นม่วงเทพรัตน์ให้เจริญเติบโต ออกดอกในขวดเพาะเลี้ยงได้อย่างสมบูรณ์ ทางสถานีวิจัยดอยปุยได้เก็บรักษาต้นเนื้อเยื่อม่วงเทพรัตน์ในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชตั้งแต่ที่ได้รับต้นพันธุ์มาในปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน

Text Here

 

ปี 2552

 

สถานีวิจัยดอยปุย ทำการวิจัยเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์มะขามป้อมและการพัฒนาการปลูกเลี้ยงเพื่อสนับสนุนโครงการภูฟ้าพัฒนา ในพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี โดยทำการศึกษาพัฒนาการเปลี่ยนยอดมะขามป้อมพันธุ์ดีในแปลงเกษตรกร เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของกลุ่มแม่บ้านบ่อหลวง ใช้แปรรูป ส่งจำหน่ายที่ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา

Text Here

 

ปี 2559

 

สถานีวิจัยดอยปุยปลูกทดสอบไม้ผลเมืองหนาวได้แก่ พลับ พลัม สตรอว์เบอร์รี อาโวคาโด เสาวรส เคพกูสเบอร์รี และกาแฟ  จัดการฝึกอบรมและสาธิตการปฏิบัติทางด้านไม้ผลเมืองหนาว ให้แก่ เกษตรกร นักศึกษาและคณาจารย์ มหาวิทยาลัยจำปาสัก จำนวน 12 ครั้ง ภายใต้โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนากสิกรรมพื้นที่สูงเมืองปากซอง  แขวงจำปาสัก สปป.ลาว :การฝึกอบรมด้านพืชสวน

Text Here

 

ปี 2562

 

สถานีวิจัยดอยปุยร่วมจัดนิทรรศการ “ไม้ผลเมืองหนาว การเพิ่มรายได้สู่ชุมชนและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นที่สูง” แสดงไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่สตรอว์เบอร์รี สายพันธุ์ต่างๆ ราสพ์เบอร์รี และแบล็คเบอร์รี กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์ และต้นม่วงเทพรัตน์ ในงานนิทรรศการ อพ.สธ. ครั้งที่ 10 “ทรัพยากรไทย : ชาวบ้านไทยได้ประโยชน์ ” ณ มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน หนองระเวียง จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคม พ.ศ. 2562

Text Here

 

ปี 2563

 

สถานีวิจัยดอยปุย ดำเนินโครงการอบรมให้ความรู้และพัฒนาวิทยากรเพื่อความยั่งยืน (Train the trainer) เรื่องการผลิตไม้ผลขนาดเล็กและไม้ผลเมืองหนาว (สตรอว์เบอร์รี และ เคพกูสเบอร์รี) โดยการประสานงานของศูนย์นานาชาติสิรินธรฯ ในโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนากสิกรรมพื้นที่สูงเมืองปากซอง  แขวงจำปาสัก สปป.ลาว  โดยพัฒนาวิทยากรภายในองค์กร (Train the Trainer) ของภาควิชาปลูกฝัง คณะเกษตรศาสตร์และป่าไม้ มหาวิทยาลัยจำปาสัก เป็นกลไกการนำพาองค์ความรู้อย่างเป็นระบบในการสร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เกิดการสร้างบุคลากรของมหาวิทยาลัยจำปาสัก ก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ทางด้านไม้ผลขนาดเล็กและไม้ผลเมืองหนาวของมหาวิทยาลัยจำปาสักอย่างยั่งยืนต่อไป

Text Here

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ปี 2558

 

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร กรมพัฒนาที่ดิน มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยทุนสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ดำเนินโครงการและกิจกรรมฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ในการศึกษาวิจัยการจัดการความรู้ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการระบบนิเวศลุ่มน้ำ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : กรณีศึกษาอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธรและพื้นที่ต่อเนื่อง

Text Here

 

ปี 2559


คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ร่วมเสนอผลงานในการประชุมนานาชาติว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากศ ความหลากหลายทางชีวภาพ และบริการของระบบนิเวศที่มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน : นโยบายและการปฏิบัติ  วันที่ 27-29 มิถุนายน 2559 ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี

Text Here

 

ปี 2559

 
คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ลุ่มน้ำบางตราน้อย และลุ่มน้ำหัวยทราย ยริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร อำเภอชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี  สาขาวิชาการจัดการลุ่มน้ำและสิ่งแวดล้อม ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร มิถุนายน 2559

Text Here

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  เป็นเจ้าภาพจัดการประกวดความเป็นเลิศในการจัดการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา ครั้งที่ 10  ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี  ภายใต้หัวข้อ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในยุคการศึกษาไทย 4.0” ระหว่างวันที่   15 – 16 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร คณะศึกษาศาสตร์  โดยมีคณะศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์  จาก  8 สถาบัน เข้าร่วมการประกวด และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานฯ

Text Here

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ปี 2538-2552

 

ศูนย์ปฏิบัตการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดทำโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากก๊าซขยะ ภายใต้โครงการบำบัดและใช้ประโยชน์จากขยะตามแนวพระราชดำริ สามารถผลิตกระแสดไฟฟ้าจากขยะและรับฟังการจัดการขยะครบวงจร ตามแนวพระราชดำริ

Text Here

 

ปี 2538-2561

 

ศูนย์ปฏิบัติการวิศวกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดทำโครงการบำบัดและใช้ประโยชน์จากขยะตามแนวพระราชดำริ รวม 23 ปี พร้อมจัดทำรายงานสรุป

Text Here

คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

 

ปี 2562



หน่วยวิจัยเทคโนโลยีจีโนมพืช ภาควิชาเกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร โดย ดร.ธัญญ์วนิช ธัญสิริวรรธน์  ดร.ประภาษ กาวิชา1 ผศ. ดร.ภิญญารัตน์ กงประโคน ร่วมกับ ผศ. ดร.สมพร แม่ลิ่ม ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการวิจัย การถอดรหัสพันธุกรรมและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมในจีโนมของลักษณะทางวนวัฒนวิทยาเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องหมายดีเอ็นเอช่วยคัดเลือกพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ และทดสอบพันธุ์ไม้พะยูง เป็นการพัฒนาเพื่อเก็บรักษาพันธุ์ รวบรวมพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์ และทดสอบพันธุ์ไม้พะยูงได้ตามวัตถุประสงค์ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)

Text Here

วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ปี 2562

 

วิทยาลัยบูรณาการศาสตร์ จัดทำหนังสือสดุดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

Text Here

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

ปี 2561-2563

 

คณะสัตวแพทยศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทูลเกล้าฯ ถวายทุนพระราชทานฯ ในโครงการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราชอาณาจักรกัมพูชา ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

Text Here

คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร

 

ปี 2562 

 

คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ สร้างโรงหนอนวันลายในโรงเรียนคุณหญิงจันทิมา พึ่งบารมี โรงเรียนพระบรมราชูปถัมภ์ให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้และดูแลโรงหนอนที่ได้รับการเลี้ยงนำมาเลี้ยงปลาในโรงเรียนเพื่อเป็นอาหาร