ศูนย์สิรินธรเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มะละกอแขกนวล
มะละกอแขกนวลมีลักษณะทรงผลยาว เปลือกผลสีเขียวนวล เนื้อผลดิบสีขาว กรอบไม่แข็ง เนื้อผลสุกสีส้ม นิยมบริโภคผลดิบเพื่อทำส้มตำ อายุการเก็บเกี่ยวผลดิบประมาณ 5-6 เดือน
มะละกอปลักไม้ลาย
ต้นแข็งแรง ทนทานโรค ขนาดผลสม่ำเสมอ ผลทรงกระบอก ผลตรงแต่ค่อนข้างสั้น เปลือกผลสีเขียว ติดผลดก เก็บเกี่ยวผลผลิตที่อายุ 8-9 เดือนหลังหยอดเมล็ด น้ำหนักผล 1-3 กก. เนื้อผลสุก สีส้มแดง รสหวาน
การเพาะกล้า | นำเมล็ดแช่ในน้ำสะอาด 4-6 ชม. แล้วจึงนำไปเพาะในถาดเพาะหรือถุงเพาะชำ หยอดเมล็ด 2-3 เมล็ดต่อหลุม ลึก0.5-1 ซม. รักษาความชื้นแต่ไม่ให้แฉะ | เมล็ดจะเริ่มงอกหลังหยอดเมล็ด 5-10 วัน เมื่อต้นกล้าเริ่มมีใบจริง 2-4 ใบ ให้รดปุ๋ยเกร็ดและสารป้องกันกำจัดโรคทางดินเป็นครั้งคราว ต้นกล้าพร้อมย้ายปลูกอายุประมาณ 30 วัน |
การย้ายปลูก | ใช้ระยะปลูก 2.5-3 ม. ปลูกต้นกล้า 2-3 ต้นต่อหลุม เพื่อการคัดเลือกต้นกะเทยในภายหลัง (2-3 เดือนหลังย้ายปลูก) การคลุมแปลงหรือรอบโคนต้นมะละกอด้วยวัสดุอินทรีย์จะช่วยรักษาความชื้นในดิน และรักษากิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน ให้คลุมห่างจากโคนต้น 20-30 ซม. | ขุดหลุมปลูกกว้างยาวลึก อย่างน้อย 30 ซม. เติมปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีสูตรเสมอลงในหลุม คลุกเคล้าให้เข้ากัน กลบหลุมไว้เช่นเดิม ขุดหลุมขนาดใกล้เคียงกับขนาดถุงต้นกล้า นำต้นกล้าลงปลูกให้ระดับดินที่กลบเสมอกับระดับดินเดิมในถุงเพาะ เพื่อป้องกันโรคโคนเน่ารากเน่า รักษาความชื้นสม่าเสมอ |
การดูแลรักษา | อายุ 1-3 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ อัตรา 25-50 กรัมต่อต้น ตามขนาดและจำนวนใบ อาจเสริมด้วยปุ๋ยไนโตรเจนบ้างในกรณีทีใบไม่เขียวสด รักษาความชุ่มชื้นของดินให้สม่ำเสมอ ฉีดพ่นสารป้องกันกาจัดแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยหอย ไรแดง แมงมุมแดง ฯ เป็นครั้งคราว ฉีดพ่นสารป้องกันกาจัดโรคจากเชื้อรา เช่น โรคใบจุด โรคแอนแทรกโนส (ความถี่ในการฉีดพ่นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศที่เอื้อต่อการระบาดของโรคและแมลงในฤดูนั้นๆ) | หลังย้ายปลูก 2-3 เดือน คัดเลือกต้นกะเทย(สมบูรณ์เพศ)ไว้เพียง 1 ต้นต่อหลุม โดยสังเกตจากดอกแรกที่มีขนาดประมาณ 1 ซม.ถ้าพบว่ามีวงของเกสรตัวผู้สีเหลืองจะเป็นต้นกะเทย (ต้นตัวเมียจะไม่มีวงของเกสรตัวผู้ และจะให้ผลกลมตลอดอายุของต้น) ถ้าพบต้นที่แสดงอาการของโรคไวรัสใบด่างวงแหวน ให้รีบตัดออกจากแปลง เพื่อป้องกันการระบาด |
เก็บผลดิบ(มะละกอพันธุ์แขกนวล) ได้ที่อายุประมาณ 5-6 เดือนหลังย้ายปลูก หรือผลดิบมีขนาด 1.5-2 กก. | อายุ 4-6 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ อัตรา 75-100 กรัมต่อต้น ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพิ่มธาตุอาหารรอง หรือฉีดพ่นธาตุอาหารรองเป็นครั้งคราว | เดินตรวจแปลงสม่ำเสมอ เพื่อตัดทำลายต้นเป็นโรคไวรัสออกจากแปลง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี ให้ใส่เป็นวงรอบต้นบริเวณชายทรงพุ่ม เว้นระยะห่างจากโคนต้น คล้ายรูปขนมโดนัท |
เก็บผลสุก(มะละกอพันธุ์ปลักไม้ลายหรือฮอลแลนด์) ที่อายุประมาณ 8-9 เดือนหลังย้ายปลูก | อายุ 7 เดือนขึ้นไป เพิ่มปริมาณปุ๋ยเป็น 100-200 กรัมต่อต้น บางพื้นที่อาจจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซียมสูงเพิ่ม เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตมะละกอสุก | การห่อผลด้วยถุงกระดาษ ถุงผ้าฯ จะช่วยเพิ่มคุณภาพภายนอกของผลได้ |
ที่มา: ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน ศูนย์พืชผักโลก ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรกำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม
ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมเดี่ยวที่ไม่ต้องถอดยอดพันธุ์เกษตรศาสตร์ 3
ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสมเดี่ยวพันธุ์เกษตรศาสตร์ 3 มีช่อดอกเพศผู้เป็นหมัน ไม่ต้องถอดยอด ควรปลูกห่างจากพันธุ์อื่นอย่างน้อย 200 เมตร หรือปลูกห่างกัน 3 สัปดาห์
การปลูกและการดูแลรักษา
การปลูกแบบแถวเดี่ยว ใช้ระยะระหว่างแถว 75 ซม. ระยะระหว่างหลุม 20 ซม. หยอด 2 เมล็ดต่อหลุม ไม่ต้องถอนแยก ให้น้ำหลังปลูก ควรแบ่งเมล็ดปลูกหลายครั้ง เพื่อให้มีข้าวโพดฝักอ่อนรับประทานอย่างต่อเนื่อง โดยอาจปลูกห่างกัน 2 สัปดาห์/ครั้ง
การป้องกันและกำจัดวัชพืช
การใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชก่อนงอกด้วยสารอาทราซีน หรืออะลาคลอร์ ก่อนเมล็ดงอก ตามอัตราแนะนำ และดินมีความชื้นเพียงพอ
การใส่ปุ๋ย
- ดินทราย ใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่
- ดินร่วนหรือดินร่วนปนเหนียว ใส่ปุ๋ย 16-20-0 อัตรา 50 กก./ไร่
การเก็บเกี่ยว
หลังจากฝักออกไหม 3-4 วัน หรือฝักมีไหมยาว 2-3 นิ้ว โดยสามารถเก็บเกี่ยวข้าวโพดฝักอ่อนได้ 2-3 ฝัก/ต้น
ที่มา: ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
298 ม.1 ต.กลางดง อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา 30320 โทรศัพท์ 061-558-5280-1
ที่มา ข้าวโพดหวานอินทรี 2
ข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 เป็นข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์แท้ SSWI 114 กับ KSei 14004 หรือ [(sh2 Syn 29 x KS 1) x Suwan 3(S)C4]-F4-S8-24-2-4-2-2 จากผลการทดสอบพันธุ์ จานวน 7 ฤดู เป็นเวลา 6 ปี (พ.ศ. 2537-42) ที่ไร่สุวรรณ พบว่า อินทรี 2 ให้น้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก (2,430 กก./ไร่) และน้ำหนักฝักสดปอกเปลือกที่ดี (1,371 กก./ไร่) ให้เปอร์เซ็นต์เมล็ดที่ตัด 34.17% และความหวาน 15.0% บริกซ์ มีความนุ่ม และรสชาติดี จากผลการทดสอบพันธุ์ในสถานีทดลองต่าง ๆ รวม 4 แห่ง ในฤดูแล้ง ปี 2542 พบว่า อินทรี 2 ให้น้าหนักฝักสดทั้งเปลือก 2,330 กก./ไร่ และน้าหนักฝักสดปอกเปลือกที่ดี 1,540 กก./ไร่ สูงกว่า อินทรี 1 3.6 และ 3.4% ตามลาดับ ผลการปลูกทดสอบ อินทรี 2 สำหรับโรงงานแปรรูป ในต้นฤดูฝน ปี 2541 พบว่า อินทรี 2 ให้น้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก 2,097 กก./ไร่, น้ำหนักฝักสดปอกเปลือกที่ดี 1,422 กก./ไร่ , ผลผลิตบรรจุกระป๋อง 766 กก./ไร่ , ความหวาน 15% บริกซ์, เนื้อสัมผัสอ่อนนุ่ม เมล็ดไม่ยุบตัวอยู่ได้ 2-3 วัน, ฝักสีเหลือง ทรงกระบอก แถวเมล็ดเรียงตัวสม่ำเสมอ ไหมมีสีอ่อน, ฝักยาว 17 ซม. กว้าง 4.5 ซม., มี 14-16 แถว, มีอายุวันออกไหม 50% 48 วัน และมีความสูงต้นและฝักปานกลาง (198 และ 106 ซม. ตามลำดับ) ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติได้เผยแพร่พันธุ์อินทรี 2 สู่เกษตรกรและโรงงาน แปรรูปในปี พ.ศ. 2542
การเตรียมดิน
การเตรียมดินมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำให้โครงสร้างของดินมีสภาพที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช ควบคุมและกำจัดวัชพืช เตรียมผิวดินให้เหมาะแก่การชลประทาน และเป็นการเพิ่มปุ๋ย หากมีการไถกลบซากพืชหรือพืชสดลงในดิน อีกทั้งเป็นการควบคุมโรคและแมลงที่เป็นศัตรูพืช มีวิธีการดังนี้
นอกจากนี้ยังสามารถปลูกได้โดยไม่ไถเตรียมดินโดยเฉพาะในดินร่วน ดินร่วนปนทรายและร่วนเหนียว เป็นวิธีการที่ดีกว่าการปลูกโดยไถพรวนตามปกติ เนื่องจากสามารถช่วยลดต้นทุนในการไถพรวนและยังช่วยให้ปลูกข้าวโพดได้เร็วขึ้นด้วย ซึ่งการปลูกตามได้ทันทีหลังเก็บเกี่ยวข้าวโดยอาศัยความชื้นในดินที่หลงเหลืออยู่ สามารถประหยัดการใช้น้าได้อย่างดี
หมายเหตุ ข้าวโพดหวานต้องการดินที่มีค่า pH ระหว่าง 5.6-6.8 ปริมาณวิกฤติของธาตุอาหารหลักสำหรับการเจริญเติบโต ดังนี้ ไนโตรเจน (N) = 3.0 %, ฟอสฟอรัส (P) =0.25 % และ โพแทสเซียม (K) = 1.9 %
การปลูกและวิธีปลูก
การปลูกข้าวโพดหวานโดยคนปลูกอาจใช้จอบสับเป็นหลุม หรือใช้อุปกรณ์ปลูก เรียกว่า แจ๊ป หยอดหลุมละ 1-2 เมล็ด กลบดินหนา ประมาณ 1-2 ซม. เมื่อข้าวโพดอายุได้ประมาณ 15 วัน ควรถอดต้นที่ไม่สมบุรณ์ เหลือไว้หลุมละ 1 ต้น (หลุมไหนไม่งอกให้ชดเชยหลุมถัดไป คือเหลือไว้ 2 ต้น) (1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1.5-2.0 กก.)
การปลูกข้าวโพดหวานโดยใช้รถแทรกเตอร์พ่วงเครื่องปลูกพร้อมใส่ปุ๋ยรองพื้น เป็นการปลูกข้าวโพดหวานในพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ แต่ต้องปลูกด้วยความระมัดระวัง เครื่องปลูกต้องปรับตั้งให้ดี เพราะเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานเปราะบางต่อการเสียดสีของจานปลูก โดยปลูกแบบร่องคู่ หรือร่องเดี่ยว ดังนี้
ก่อนปลูกคลุกเมล็ดข้าวโพดหวานป้องกันเชื้อรา (Fungicide) ที่ช่วยป้องกันโรคราน้ำค้าง ที่ปนมากับเมล็ด และสารป้องกันกันกำจัดแมลง (Insecticide) และสารประกอบอื่น ๆ ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กก. ดังนี้
หมายเหตุ ในกรณีพื้นที่ที่มีการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (FAW) อาจคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย ไซแอนทรานิลิโพล (cyantraniliprole 20% SC.) อัตรา 20 ซีซี สามารถป้องกันได้ 15-20 วัน
ฤดูปลูกและวันปลูก
โดยทั่วไปฤดูปลูกที่เหมาะสมในการปลูกข้าวโพด มี 3 ฤดู คือ
แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสมต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด ได้แก่ ปลายฤดูฝน และฤดูแล้ง หลักการสำคัญก็คือ ข้าวโพดจะต้องไม่ขาดน้ำขณะออกดอกและติดเมล็ด
การเว้นระยะห่างจากข้าวโพดพันธุ์อื่น
การปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 ควรปลูกห่างจากข้าวโพดหวานที่มียีนต่างกัน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อย่างน้อย 200 เมตร หรือปลูกเหลื่อมล้ำกับข้าวโพดพันธุ์อื่น อย่างน้อย 20-30 หลังจากให้น้ำครั้งแรก และควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันการผสมข้ามพันธุ์อื่น ทำให้เมล็ดข้าวโพดหวานที่ได้ไม่บริสุทธิ์ อาจส่งผลให้ความหวาน และคุณภาพการรับประทานลดลง
การควบคุมวัชพืช
การควบคุมกำจัดวัชพืชและการอารักขาพืช โดยทั่วไปการพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยฉีดพ่นสารควบคุมวัชพืชก่อนข้าวโพดงอก หลังจากให้น้ำด้วย เพนดิมิทาลีน (Pendimethalin 33% W/V EC) อัตรา 300-350 มล./ไร่ และอาทราซิน (Atrazing 90% WG) อัตรา 300-400 กรัม/ไร่ หรือสารควบคุมวัชพืชอื่นๆ ตามคำแนะนาของกรมวิชาการเกษตร ที่สาคัญต้องคานึงถึงช่วงเวลาในการฉีดพ่นด้วย เช่น การฉีดยาคุมวัชพืชควรฉีดทันทีหลังปลูกและให้น้ำวันแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ดินมีความชื้นจะทำให้ยามีประสิทธิภาพมากขึ้น
การถอนแยกและปลูกซ่อม การพูนโคน ในกรณีที่มีการใช้สารเคมี ต้องศึกษาและเลือกใช้ให้เหมาะสม
ช่วงวิกฤติที่ข้าวโพดอ่อนแอกว่าวัชพืชที่สุดคือ ระยะ 13-25 วันหลังงอก ระยะนี้ถ้ามีวัชพืชรบกวนจะทำให้ผลผลิตข้าวโพดเสียหายสูงสุด ดังนั้นการปลูกข้าวโพดให้ได้ผลผลิตสูงจึงต้องให้แปลงปลอดวัชพืชตลอดช่วง 1 เดือนแรกตั้งแต่ปลูก
โรคและแมลง
โรค ปัญหาที่พบคือ โรคราน้ำค้าง และโรคใบไหม้ เกษตรกรจะพ่นด้วยสารป้องกันโรคพืชคือ ไดเมทโทม๊อบ ฟังกูราน สกอร์ แคปแทน และแคงเคอร์ X ตามชนิดของโรค
แมลง ศัตรูที่พบคือ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนเจาะลำต้นและหนอนเจาะฝัก ควรพ่นด้วย เชฟวิน 85 อิมิดาโดลพริด, เบต้าไซฟลูทริน เดลทาเมทริน ตัวใดตัวหนึ่งตามการระบาดของแมลงศัตรู
หมายเหตุ ในกรณีพื้นที่ที่มีการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (FAW) สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ 1. อิมาเม็คตินเบนโซเอท (Emamectin Benzoate) 20% WG. 2. สไปนีโทรแรม (Spinetoram) 12%W/V SC. 3. คลอแรนทรานิลิโพล (Chlorantraniliprole) 20% WG. +ไทอะมีท๊อกแซม (Thiamethpxam) 20% WG. 4. เมทอกซีฟีโนไซด์ (Methoxyfenozide) 30% w/v + สไปนีโทแรม (Spinetoram 6% w/v. 5 อินด๊อกซาคาร์บ (Indoxacarb) 15% W/V EC อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน หลังมีการระบาด โดยฉีดในระหว่างที่ข้าวโพดมีอายุ 15-45 วันหลังปลูก ทั้งนี้ เกษตกรควรศึกษาการใช้แล้วิธีการใช้ตามคำแนะนาของกรมวิชาการเกษตรประกอบด้วย
การทำรุ่น
การทารุ่น เป็นการพรวนดินดายหญ้าหลังข้าวโพงอกแล้ว แต่ทำก่อนที่ข้าวโพดหวานถึงระยะวิกฤติ (20-30 วันหลังปลูก) โดยใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักรกลต่าง ๆ เช่น จอบ รถไถเดินตาม และรถแทรกเตอร์พ่วงจอบหมุน หรือเครื่องพูนโคน อย่างไรก็ตามการใช้ไถพูนโคนมักมีวัชพืชในแถวหลงเหลืออยู่ จึงต้องใช้จอบดายตามอีกครั้ง พร้อมกับการใส่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 อัตรา 30-50 กก./ไร่
ปุ๋ย และ การใส่ปุ๋ยบำรุงดิน
การใส่ปุ๋ยให้มีประสิทธิภาพ ควรทำการวิเคราะห์ดินว่าขาดธาตุอาหารชนิดใด โดยพิจารณาเกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ให้เพียงพอแก่ความต้องการ
แหล่งที่มา: ทวีศักดิ์ ภู่หลา https://www.facebook.com/taweesak.pulam
น้ำและการจัดการน้ำ
ข้าวโพดหวาน เป็นพืชที่ต้องการน้ำตลอดอายุการเจริญเติบโต ดังนั้น แปลงปลูกข้าวโพดหวาน ควรมีแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน ไม่ควรใช้น้ำฝนเพียงอย่างเดียวเพราะการขาดน้ำจะมีผลถึงผลผลิตและคุณภาพเมล็ดอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่การขาดน้ำในช่วงที่ข้าวโพดออกดอกและติดเมล็ดจะกระทบกระเทือนต่อผลผลิตมากที่สุด “ข้าวโพดต้องการน้ำตลอดช่วงอายุ 400-600 มม.” โดยช่วงวิกฤตของข้าวโพดเมื่อขาดน้ำ ผลผลิตจะลดลงอย่างมาก คือ
ตาราง ผลการขาดน้ำที่มีต่อผลผลิตข้าวโพด ระยะการเจริญเติบโตของข้าวโพด | เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่ลดลง |
1. ระยะต้นกล้าถึงระยะหัวเข่า | 5-10 |
2. ระยะเริ่มเห็นช่อดอกตัวผู้โผล่ | 10-25 |
3. ระยะออกไหม หรือผสมเกสร | 40-50 |
4. ระยะเป็นเมล็ดใส | 30-40 |
5. ระยะแป้งแข็ง | 20-30 |
ที่มา : ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ต. กลางดง อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา 30320 โทรศัพท์ 061-558-5280-1 โทรสาร 0-4436-1776
เรื่องน่ารู้ ก่อนลงมือปลูกผักสวนครัว
ผัก เป็นพืชที่มีระบบรากตื้น สามารถปลูกลงพื้นดินหรือในภาชนะ ความลึกตั้งแต่ 20 ซม.ขึ้นไป ขนาดความกว้างขึ้นอยู่กับชนิดผัก ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่แดดส่องถึง
การปลูกผักโดยใช้เมล็ด หรือส่วนขยายพันธุ์
ผักเป็นพืชอายุสั้น รากตื้น ต้องการน้ำสม่ำเสมอ ชุ่มแต่อย่าแฉะ อย่าให้น้ำขัง รากจะเน่าเพราะขาดออกซิเจน
ควรปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดีโดยใช้อินทรีวัตถุ ผสมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก คลุกเคล้ากับดิน และห่มดินให้ชุ่มชื้น ใช้น้ำหมักชีวภาพในการเติมจุลินทรีย์ลงดิน ถ้าใช้ปุ๋ยเคมีเสริม ควรใช้เท่าที่จำเป็น โดยใส่เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้แล้วและอย่าใส่ชิดโคนต้น เมื่อใส่ปุ๋ยเคมีแล้วต้องพรวนดินและรดน้ำตาม ปุ๋ยเคมี (NPK) ใช้ N เพื่อบำรุงใบ P บำรุงดอก,ราก และ K สำหรับบำรุงผล
ทำให้ผักแข็งแรง ต้นไม่แน่นเกิน แปลงปลูกสะอาด น้ำไม่ขัง รดน้ำปูนใส โดยใช้ปูนขาว 5 กก.ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 1 คืน นำน้ำปูนใส 1 ส่วน ผสมน้ำ 5 ส่วน รดในแปลงปลูก ถ้าพบใบหรือต้นที่เป็นโรค ต้องตัดแล้วเก็บออกนอกแปลงและนำไปทำลาย
ควรเก็บผลผลิตตอนเช้า เก็บในระยะที่พอดีไม่แก่หรืออ่อนเกินไป อย่าทิ้งให้ผลแก่คาต้นเพราะจะทำให้ผลผลิตลดลง
วิธีปลูก
รวบรวมโดย
ศูนย์สิรินธรเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์